ประวัติความเป็นมา
ก่อนจะมาเป็นศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง
ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง มีเนื้อที่ ทั้งหมด 1,919 ไร่ 3 งาน 98 ตารางวา ซึ่งเดิมเป็นที่ราชพัสดุที่ขอใช้ เพื่อจัดสร้างสถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจสอบสวนกลาง ตั้งแต่ วันที่ 8 มิถุนายน 2548 ในสมัยที่ พล.ต.อ.วงกล มณีรินทร์ ขณะที่ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่ไม่ได้ดำเนินการ จนมาถึงสมัยที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โครงการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลางได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง จากการเข้าตรวจเยี่ยมพื้นที่ของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมคณะ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2555
ในระยะแรกของโครงการได้ประสบปัญหาการบุกรุกที่ดิน และ ขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนโครงการ จึงทำให้ความก้าวหน้าของโครงการไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ แต่ด้วยเล็งเห็นว่าพื้นที่หนองสาหร่ายมีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว จึงได้สั่งการเร่งรัดสานต่อโครงการ โดยมีเป้าหมายใช้เป็นศูนย์ฝึกอบรมในภูมิภาคอาเซียนที่ใหญ่และมีความพร้อมมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกำหนดให้พื้นที่แห่งนี้มีชื่อว่า
“ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง”
และมอบหมายให้ พล.ต.ท.สันติ เพ็ญสูตร ผู้ช่วย ผบ.ตร เป็นผู้บริหารแบบเบ็ดเสร็จ มีหน้าที่ในการพัฒนา และก่อสร้างศูนย์ฝึกฯ พร้อมทั้งมอบให้ พ.ต.อ.พงษ์เดช พรหมมิจิตร รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา เป็นผู้รับผิดชอบบริหารโครงการประจำพื้นที่ดูแลควบคุมการก่อสร้างโครงการในปีงบประมาณ พศ. 2556 – 2557 และ พล.ต.ต.ศรกฤษณ์ แก้วผลึก ผบก.ฝรก. เป็นเลขานุการฯ ให้เริ่มนำหลักสูตรการฝึกอบรมทางยุทธวิธีต่างๆ เข้ามาทำการฝึก ณ ศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ตั้งแต่เดือนเมษายน 2557
วันที่ 1 กรกฏาคม 2563 มีการเปลี่ยนแปลงสถานะของศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง ตามพระราชฎีกาแบ่งส่วนราชการยกระดับฐานะศูนย์ฝึกยุทธวีธีตำรวจกลางจากกองกำกับการ เป็นกองบังคับการ ในสังกัดกองบัญชาการศึกษา โดยมี พล.ต.ต.ศักดิ์รพี เพรียวพานิช
เป็นผู้บังคับการคนแรก
พล.ต.ต.ศักดิ์รพี เพรียวพานิช ได้นำเสนอโครงการต่อเนืองกับ ผบ.ตร. เพื่อก่อสร้างปรับปรุงอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภคของศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง โดยมุ่งหวัง ให้เป็น “Law Enforcement Academy Complex” มีมาตรฐานแบบสากลและเป็นที่ยอมรับ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายจากทุกภาคส่วน มีสถานที่ทำการฝึกที่มีมาตรฐานด้วยระบบการฝึกที่ทันสมัยทัดเทียมสถาบันตำรวจชั้นนำ

วิสัยทัศน์ (Vision)
“ภักดีองค์ราชา พัฒนาการฝึกให้นำสมัย”
กลยุทธ์ (Stratgy)
“สามัคคี มีวินัย ใส่ใจมาตรฐาน”
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บังคับบัญชาศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง

พล.ต.ต.ภาณุเดช สุขวงศ์
ผู้บังคับการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง

พ.ต.อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญวงษ์
รองผู้บังคับการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง

พ.ต.อ.สุรินทร์ ชาวศรีทอง
รองผู้บังคับการศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง

พ.ต.อ.สุริยัน วินิจมนตรี
ผู้กำกับการฝ่ายอำนวยการ

พ.ต.อ.ปรารภ เสริฐสูงเนิน
ผู้กำกับการฝ่ายสนับสนุนการฝึก

พ.ต.อ.ชาตรี จิตรีธาตุ
ผู้กำกับการฝ่ายวิทยบริการ

พ.ต.อ.สมพงค์ อ่ำกรด
ผู้กำกับการฝ่ายควบคุมการฝึก
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของศูนย์ฝึกยุทธวิธีตำรวจกลาง :
(1) ดำเนินการฝึกอบรมทางยุทธวิธีให้กับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรและชั้นประทวนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานวิจัยและพัฒนาทางวิชาการตำรวจและศาสตร์สาขาอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทางวิชาการและจัดทำมาตรฐานการศึกษาและระบบการเรียนการสอนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางยุทธวิธีให้กับข้าราชการตำรวจในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(4) ติดต่อและประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความยุติธรรม และการรักษาความปลอดภัยของประชาชน
(5) เป็นศูนย์กลางการฝึก และพัฒนาทักษะทางยุทธวิธี และการยิงปืนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายควบคุมการฝึก :
มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านยุทธวิธี และการปฏิบัติการทางด้านการฝึกอาวุธและยุทธวิธี การปกครองบังคับบัญชา และการกำกับดูแล การปฏิบัติของผู้เข้ารับการอบรม ควบคุมการปฏิบัติของครูฝึก การสนับสนุนครูฝึก สนับสนุนวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการในการฝึกอบรม และการปฏิบัติด้าน อาวุธและยุทธวิธี การร่วมกับหน่วยงานอื่น ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยปฏิบัติ ดังนี้
(1) งานอำนวยการของฝ่ายควบคุมการฝึก
(2) รับผิดชอบเกี่ยวกับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้านยุทธวิธี ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
(3) การฝึกอบรมหลักสูตร/โครงการ ที่ได้รับการอนุมัติ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(4) การฝึกอบรมหลักสูตร/โครงการ ที่ได้รับมอบหมาย จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(5) เป็นหน่วยสนับสนุนการร่วมฝึก การฝึกพิเศษอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
(6) รับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ทางวิชาการ ควบคุม บำรุงรักษา และจัดทำทะเบียนเครื่องมือเครื่องใช้ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
(8) งานอื่นๆ ที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย